วันอาทิตย์ที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2557

มหาชาติหรือมหาเวสสันดร

   มหาชาติ  เป็นชาติที่ยิ่งใหญ่ของพระโพธิสัตว์ที่ได้เสวยพระชาติเป็นพระเวสสันดรและเป็นพระชาติสุดท้ายก่อนจะตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า  คนไทยรู้จักและคุ้ยเคยกับมหาชาติมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย  ดังที่ปรากฏในหลักฐานในจารึกนครชุม  และในสมัยอยุธยาก็ได้มีการแต่งและสวดมหาชาติคำหลวงในวันธรรมสวนะ  ส่วนการเทศน์มหาชาติเป็นประเพณีที่สำคัญในทุกท้องถิ่นและมีความเชื่อกันว่า  การฟังเทศน์มหาชาติจบภายในวันเดียวจะได้รับอานิสงส์มาก อ่านต่อ

มงคลสูตรคำฉันท์

   ผู้ทรงพระ ราชนิพนธ์ คือ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชนิพนธ์ เมื่อ พ.ศ.2466 ลักษณะคำประพันธ์ กาพย์ฉบังและอินทรวิเชียรฉันท์ แทรกคาถาบาลี เนื้อเรื่องย่อ พระอานนท์ เป็นผู้เล่าว่า พระพุทธเจ้าประทับอยู่ที่วัดเชตวันวิหาร ซึ่งอนาถบิณฑิกเศรษฐีสร้างถวาย ตอนประถมยาม มีเทวดารัศมีเจิดจ้ามาเข้าเผ้าพระพุทธองค์ ทูลถามถึงเรื่องมงคลพระพุทธเจ้าจึงตรัสเทศนาถึงมงคล 38 ประการ อ่านต่อ

ทุกข์ของชาวนาในบทกวี

 ทุกข์ของชาวนาในบทกวี  เป็นบทความพระราชนิพนธ์ในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี  ที่แสดงให้เห็นถึงการเอาพระทัยใส่ความเข้าพระทัยในปัญหาต่าง ๆ ตลอดจนพระเมตตาของพระองค์ที่ทรงมีต่อชาวนา  เนื่องด้วยชาวนาแต่ละท้องที่ล้วนมีสภาพชีวิตและความทุกข์ยากที่ไม่แตกต่างกันเลย  แม้ว่ากาลเวลาจะผันผ่านไปอย่างไรก็ตาม อ่านต่อ

หัวใจชายหนุ่ม

   หัวใจชายหนุ่ม เป็นบทพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยใช้
พระนามแฝงว่า รามจิตติ  เพื่อพระราชทานลงพิมพ์ ในหนังสือพิมพ์ ดุสิตสมิต เมื่อ พ.ศ. 2464 ลักษณะการพระราชนิพนธ์เป็นรูปแบบของจดหมาย มีจำนวน 18 ฉบับ รวมระยะเวลาที่ปรากฏตามจดหมายทั้งหมด 1 ปี 7 เดือน พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว อ่านต่อ

นิทานเวตาล

 เวตาลกล่าวว่าครั้งนี้ข้าพเจ้าให้เกิดเขม่นตาซ้าย หัวใจเต้นแรงแลตาก็มืดมัว เป็นลางไม่ดีเสียแล้ว แต่ข้าพเจ้าก็จะเล่าเรื่องจริงถวายอีกเรื่องหนึ่ง แลเพราะเหตุข้าพเจ้าเบื่อหน่ายการถูกแบกสะพายไปมาเป็นหลายเที่ยวแล้ว แม้พระองค์ไม่ทรงเบื่อเป็นผู้แบกก็จริง ข้าพเจ้าจะตั้งปัญหาที่อยากทูลถามสักที ถ้าทรงตอบได้ พระปัญญาก็มากยิ่งกว่าที่ข้าพเจ้าคิดว่าจะมีในพระราชาพระองค์ใด อ่านต่อ

อิเหนา ตอนศึกกะหมังกุหนิง

 อิเหนา เป็นบทพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 เป็นบทละครรำที่พร้อมเพรียงทั้งเนื้อหา ความไพเราะ กระบวนการเล่นละคร และยังสะท้อนถึงประเพณีไทยในอดีต โดยแม้บทละครรำเรื่อง อิเหนา จะมีพื้นเพมาจากชวา แต่พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้า อ่านต่อ

คำนมัสการคุณานุคุณ




                   ธรรมะคือคุณากร             ส่วนชอบสาธร 
ดุจดวงประทีปชัชวาล 
            แห่งองค์พระศาสดาจารย์    ส่องสัตว์สันดาน 
สว่างกระจ่างใจมล 
            ธรรมใดนับโดยมรรคผล     เป็นแปดพึงยล 
และเก้านับทั้งนฤพาน 
            สมญาโลกอุดรพิสดาร        อันลึกโอฬาร 
พิสุทธิ์พิเศษสุกใส 
             อีกธรรมต้นทางครรไล       นามขนานขานไข 
ปฏิบัติปริยัติเป็นสอง 
            คือทางดำเนินดุจครอง        ให้ล่วงลุปอง 
ยังโลกอุดรโดยตรง อ่านต่อ